Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1323
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | อุดมโชคนามอ่อน, ไชยสิทธิ์ | - |
dc.contributor.author | พระครูวุฒิธรรมบัณฑิต | - |
dc.contributor.author | วัฒนาชัยวณิช, รังสรรค์ | - |
dc.contributor.author | ปัญญาเอก, เกษศิรินทร์ | - |
dc.contributor.author | หอมสมบัติ, พูลศักดิ์ | - |
dc.date.accessioned | 2025-07-19T05:47:12Z | - |
dc.date.available | 2025-07-19T05:47:12Z | - |
dc.date.issued | 2565 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1323 | - |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยเรื่อง “เบิ่ง” เยาวชนผลิตสื่อสร้างสรรค์เชิงเกษตรทฤษฎีใหม่เพื่อพัฒนา ท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี ภายใต้แผนงานวิจัย เรื่อง “แลดูเบิ่งผ่อ” เยาวชนผลิตสื่อสร้างสรรค์เชิง พุทธเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในบ้านเกิด เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) กับชุมชนในพื้นที่ จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อวิเคราะห์แนวคิด ความหมายที่เกี่ยวข้องกับสื่อ สร้างสรรค์เชิงเกษตรทฤษฎีใหม่เพื่อพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี ๒) เพื่อผลิตสื่อสร้างสรรค์ เชิงเกษตรทฤษฎีใหม่เพื่อพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี ๓) เพื่อสร้างเครือข่ายเยาวชนผลิตสื่อ สร้างสรรค์เชิงเกษตรทฤษฎีใหม่เพื่อพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง (Sample) ได้แก่ การคัดเลือกตัวแทนเยาวชนในท้องถิ่นและจากโรงเรียน โดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) คือ เป็นเยาวชนในท้องถิ่นและจากโรงเรียนที่สนใจในโครงการฯ จำนวน ๓ พื้นที่ ๆ ละ ๑ กลุ่ม ๆ ละ ๕ คน รวมทั้งหมด ๑๕ คน โดยการจัดฝึกอบรมตามกระบวนการวิจัยเป็นเวลา ๓ วัน ต่อเนื่อง ผลการวิจัยพบว่า ๑) การวิเคราะห์แนวคิด ความหมายที่เกี่ยวข้องกับสื่อสร้างสรรค์เชิงเกษตร ทฤษฎีใหม่เพื่อพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี พบว่า แนวคิด ความหมายที่เกี่ยวข้องกับสื่อ สร้างสรรค์เชิงเกษตรทฤษฎีใหม่เพื่อพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี นั้น ถ้าหากมองย้อนไปถึง แนวคิดภูมิปัญญาท้องถิ่นของเรานั้นมีมากมายที่อยู่คู่กับคนไทยมาอย่างช้านาน ซึ่งองค์ความรู้ที่เกิด จากภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้น ๆ เริ่มกำลังจะสูญหายไปตามกาลเวลา เพราะขาดผู้สืบทอด คนในท้องถิ่น อีกทั้งยังไม่เป็นที่รู้จักของบุคคลภายนอก ดังนั้น การสร้างสื่อแบบวิดีโอจะทำให้สามารถประชาสัมพันธ์ ให้คนทั่วไปได้รับรู้ได้อย่างกว้างขวาง และเป็นการส่งเสริมให้คนในท้องถิ่นหรือคนต่างพื้นที่ ได้เห็น ความสำคัญของการทำการเกษตรในพื้นที่ขนาดเล็ก ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยหลักเศรษฐกิจ พอเพียง ๒) การผลิตสื่อสร้างสรรค์เชิงเกษตรทฤษฎีใหม่เพื่อพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี พบว่า การผลิตสื่อสร้างสรรค์ในสังคมยุคปัจจุบันมีบทบาทอย่างมากกับสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ซึ่งการ เผยแพร่ทางสื่อออนไลน์ ตลอดจนมีความรักความเข้าใจในองค์ความรู้ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของคน ในตำบลโนนผึ้ง อีกทั้งยังมีความจำเป็นอย่างมาก เนื่องจากการผลิตสื่อสร้างสรรค์เชิงเกษตรทฤษฎีใหม่ ที่ก่อให้เกิดความเข้าใจและช่วยเหลือซึ่งกันและกันของคนในพื้นที่ชุมชน ๓) การสร้างเครือข่ายเยาวชนผลิตสื่อสร้างสรรค์เชิงเกษตรทฤษฎีใหม่เพื่อพัฒนาท้องถิ่นใน จังหวัดอุบลราชธานี พบว่า การสร้างเครือข่ายเยาวชนผลิตสื่อสร้างสรรค์เชิงเกษตรทฤษฎีใหม่เพื่อ พัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี มีองค์ประกอบของความเป็นเครือข่าย คือ การมีส่วนร่วม การ พึ่งพาอาศัยและการแลกเปลี่ยนความรู้การมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของสมาชิก เพราะการมีส่วน ร่วมจะทำให้สมาชิกมีความรูสึกว่า ตนเองเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่าย อีกทั้งในการจัดการเครือข่ายใน ครั้งต่อไป ควรเพิ่มเครือข่ายกลุ่มเยาวชนในแต่ละชุมชน แล้วมาผลิตสื่อทำกิจกรรมร่วมกัน | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | เยาวชนสื่อสร้างสรรค์ | en_US |
dc.subject | สื่อสร้างสรรค์เชิงเกษตรทฤษฎีใหม่ | en_US |
dc.subject | การพัฒนาท้องถิ่นในบ้านเกิด | en_US |
dc.title | “เบิ่ง” เยาวชนผลิตสื่อสร้างสรรค์เชิงเกษตรทฤษฎีใหม่เพื่อพัฒนาท้องถิ่นใน จังหวัดอุบลราชธานี | en_US |
dc.title.alternative | "Berng" Youth produce creative agricultural media, new theory for local development in Ubon Ratchathani Province | en_US |
dc.type | Other | en_US |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ว.034.2565.ย่อย3.pdf | 8.74 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.