Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1316
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | วชิรธมฺโม, พระมหาวิเชียร | - |
dc.contributor.author | พระครูสุวรรณสุตาลังการ | - |
dc.contributor.author | มณีเนียม, อำพร | - |
dc.contributor.author | สมฺปนฺโน, พระมหาสมคิด | - |
dc.contributor.author | ศิรินุพงศ์, จารึก | - |
dc.contributor.author | วัฒนาชัยวณิช, รังสรรค์ | - |
dc.date.accessioned | 2025-07-19T05:10:40Z | - |
dc.date.available | 2025-07-19T05:10:40Z | - |
dc.date.issued | 2565 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1316 | - |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยเรื่อง “ความยั่งยืนของชุมชนสันติสุขท่ามกลางความหลากหลายในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) กับชุมชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาความยั่งยืนของชุมชนภาคการเกษตรท่ามกลางความหลากหลายในพื้นที่จังหวัดยะลา ๒) ศึกษาความยั่งยืนของชุมชนภาคอุตสาหกรรมท่ามกลางความหลากหลายในพื้นที่จังหวัดปัตตานี และ๓) ศึกษาความยั่งยืนของชุมชนภาคบริการท่ามกลางความหลากหลายในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ซึ่งผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) ได้แก่ ภาครัฐ ภาคประชาชน และ ภาคเอกชน จำนวน ๓ จังหวัด ๆ ละ ๖ คน รวมทั้งสิ้น ๑๘ คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ตามความสำคัญของเรื่อง คือ เป็นบุคคลที่มีบทบาทและความสัมพันธ์เกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาความยั่งยืนของชุมชนสันติสุขท่ามกลางความหลากหลายในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยการสัมภาษณ์ และทำสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) กับกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการวิจัยฯ จังหวัดละ ๑๕ คน รวม ๔๕ คน ผลการวิจัยพบว่า ความยั่งยืนของชุมชนภาคการเกษตรในพื้นที่จังหวัดยะลา มีรูปแบบความยั่งยืนของชุมชนภาคการเกษตร ประกอบด้วย ๑) แนวความคิดในการทำเกษตรกรรม ๒) เป้าหมายในการทำเกษตรกรรม ๓) แหล่งที่มาความรู้/ทักษะการทำเกษตรกรรมของเกษตรกร ในส่วนของการพัฒนากิจกรรมแบบมีส่วนร่วมของชุมชนภาคการเกษตร มีขั้นตอนการดำเนินการ คือ ๑) การสร้างระบบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมในพื้นที่ ๒) การสร้างตลาดแนวใหม่โดย ใช้ช่องทางการค้าออนไลน์แบบมีส่วนร่วมในพื้นที่ และสุดท้ายการเสริมสร้างเครือข่ายของชุมชนภาคการเกษตร ประกอบไปด้วย ๑) การเชื่อมโยงตลาดในพื้นที่ชุมชน ๒) หลักเศรษฐกิจพอเพียง ๓) การตลาดยุค ๔.๐ ๔) ตลาดเป็นธรรม ๕) การเชื่อมโยงตลาด ส่วนรูปแบบความยั่งยืนของกลุ่มชุมชนภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดปัตตานี มี ๔ รูปแบบใหญ่ ๆ ประกอบไปด้วย ๑) รูปแบบความยั่งยืนของกลุ่ม มี ๕ รูปแบบ คือ (๑) รูปแบบผู้นำทางปัญญา (๒) รูปแบบการมีส่วนร่วม (๓) รูปแบบการพึ่งพาตนเอง (๔) รูปแบบริเริ่มสร้างสรรค์เป็นนวัตกรรมของ ชุมชน (๕) รูปแบบการถ่ายทอดองค์ความรู้และการสืบทอดภูมิปัญญา ๒) รูปแบบความยั่งยืนของชุมชนและสังคม มี ๒ รูปแบบ คือ (๑) ชุมชนเป็นเจ้าของและผู้ดำเนินการ (๒) การแบ่งปันผลกำไรสู่ชุมชน ๓) รูปแบบความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ มี ๒ รูปแบบ คือ (๑) การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมของชุมชน (๒) การเสริมรายได้ให้กับสมาชิกและคนภายในชุมชน ๔) รูปแบบความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม มี ๒ รูปแบบ คือ (๑) การนำวัสดุธรรมชาติมาใช้ในการผลิต (๒) การใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่า และรูปแบบความยั่งยืนของกลุ่มของชุมชนภาคบริการในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส เป็นการเริ่มต้นมาจากระดับนโยบายสู่ระดับปฏิบัติการโดยมีการดำเนินการใน ๒ ภาคส่วน ได้แก่ ภาครัฐที่เป็นฝ่ายขับเคลื่อนด้านนโยบายและภาคเอกชนหรือประชาชนที่เป็นฝ่ายรับนโยบายมาขับเคลื่อนในเชิงปฏิบัติ โดยหน้าที่ของภาครัฐไม่เพียงแต่เป็นผู้อยู่ในฐานะมอบนโยบายให้ภาคเอกชนหรือประชาชนได้ปฏิบัติเท่านั้นแต่ยังเป็นผู้ปฏิบัติไปในตัวในคราวเดียวกันด้วย ทั้งนี้ รูปแบบการให้บริการดังกล่าวไม่เพียงแต่จะมีความหมายถึงการดำเนินการต่าง ๆ ในลักษณะของการปฏิบัติการเพื่อให้บริการด้านการท่องเที่ยวอย่างตรงตัวเท่านั้น แต่ยังหมายถึงภาพรวมของการจัดการที่ครอบคลุมทุกมิติในด้านการท่องเที่ยวอีกด้วย | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ความหลากหลายในพื้นที่ | en_US |
dc.subject | สันติสุข | en_US |
dc.subject | ความยั่งยืนของชุมชน | en_US |
dc.title | ความยั่งยืนของชุมชนสันติสุขท่ามกลางความหลากหลายในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ | en_US |
dc.title.alternative | Sustainability of a peaceful community amid diversity in the Southern Border Provinces. | en_US |
dc.type | Other | en_US |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ว.033.2565.pdf | 10.62 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.