Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1291
Title: รูปแบบการอนุรักษ์วัฒนธรรมวิถีพุทธของกลุ่มชาติพันธุ์ไทดำ ในจังหวัดเลย
Other Titles: Patterns of the Buddhist culture conservation of the Tai Dam ethnic group In Loei Province
Authors: พระครูปริยัติคุณรังษี
คงทิพย์, เอกลักษณ์
นวลน้อย, พัทธนันท์
สินนา, พระมหาสมศักดิ์
Keywords: รูปแบบการอนุรักษ์
วัฒนธรรมวิถีพุทธ
กลุ่มชาติพันธุ์ไทดำ ในจังหวัดเลย
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: บทคัดย่อ การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาวิถีชีวิตและวัฒนธรรมวิถีพุทธของกลุ่มชาติ พันธุ์ไทดำในจังหวัดเลย ๒) เพื่อศึกษากระบวนการอนุรักษ์วัฒนธรรมวิถีพุทธของกลุ่มชาติพันธุ์ไทดำ ในจังหวัดเลย ๓) เพื่อเสริมสร้างผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมวิถีพุทธของกลุ่มชาติพันธุ์ไทดำในจังหวัดเลย และ ๔) เพื่อสร้างเครือข่ายทางวัฒนธรรมวิถีพุทธของกลุ่มชาติพันธุ์ไทดำในจังหวัดเลย เป็นการวิจัย แบบผสมผสาน (Mixed Method Research) โดยเป็นการศึกษาเอกสาร (Documentary Research) และเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ (Interview) ผลการวิจัย ๑. การเรียนรู้ความเป็นวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทดำ และการสร้างความ เป็นวิถีพหุทางวัฒนธรรมร่วมกับชุมชนท้องถิ่น เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงการดำรงอยู่ของวิถีชีวิตและ วัฒนธรรมวิถีพุทธของกลุ่มชาติพันธุ์ไทดำบ้านนาป่าหนาดนี้ ซึ่งปัจจุบันเป็นสิ่งที่ท้าทาย หากไม่มีการ ปรับเปลี่ยนตามกระแสสังคมเพื่อสร้างแรงดึงดูดของผู้คนที่เป็นนักท่องเที่ยวได้เข้ามาเรียนรู้และสัมผัส กับกลิ่นอายของความเป็นวิถีไทดำที่มีอัตลักษณ์ของตนเอง ก็ยิ่งจะทำให้ความเป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรม ไม่เป็นที่สนใจอีกต่อไป ด้วยปัจจุบันวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย ๒. กระบวนการอนุรักษ์วัฒนธรรมวิถีพุทธของกลุ่มชาติพันธุ์ไทดำในจังหวัดเลย มี ๓ ขั้นตอน ขั้นตอนที่ ๑ การสร้างความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักร่วมกันในการอนุรักษ์ รักษา ฟื้นฟู วัฒนธรรมอย่างยั่งยืน ชาวไทดำบ้านนาป่าหนาดได้รวมตัวกันเพื่อศึกษา รวบรวมทรัพยากรทาง วัฒนธรรมที่อาจจะสูญหายตามกาลเวลา นำมาอนุรักษ์ไว้ในรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ผ่าน ศูนย์เรียนรู้ภายในหมู่บ้าน ขั้นตอนที่ ๒ การพัฒนากิจกรรมการอนุรักษ์ด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อเป็น แหล่งเรียนรู้วิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรมของชาวไทยดำบ้านนาป่าหนาด นำเสนอวิถีชีวิตและวัฒนธรรม ของตนผ่านการท่องเที่ยว ขั้นตอนที่ ๓ การควบคุมกิจกรรมเพื่อเพิ่มสมรรถนะด้านการอนุรักษ์ วัฒนธรรมไทดำบ้านนาป่าหนาดให้ยั่งยืน วางกฎเกณฑ์การใช้ประโยชน์ร่วมกันทั้งในด้านเวลาและ สถานที่ เผยแผ่ประชาสัมพันธ์กิจกรรมแหล่งเที่ยวผ่านสื่อสังคมโซเซียล และสร้างเครือข่ายวัฒนธรรม ไทดำ ๓. ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมชุมชนของกลุ่มชาติพันธุ์ไทดำบ้านนาป่าหนาด ที่สามารถ นำเอามาผสมผสานเชื่อมโยงกับแนวคิดทางพระพุทธศาสนา พบว่าผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมชุมชนของ กลุ่มชาติพันธุ์ไทดำบ้านนาป่าหนาดมีอยู่หลายสิ่งหลายอย่างที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับวิถีชีวิต วัฒนธรรมกับความเชื่อทางศาสนาอื่น ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่จะช่วยให้ชุมชนไทดำกับชาวบ้านในละแวก ใกล้เคียงกันที่แม้แต่จะมีรูปแบบการดำเนินชีวิต ความเชื่อและศาสนาที่แตกต่างกัน ก็ไม่ได้เป็นสิ่งกีด กันการไปมาหาสู่กันแต่อย่างใด กลับสร้างความหลากหลายและอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข ๔. การจัดการเครือข่ายทางวัฒนธรรมวิถีพุทธของแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมไทดำชุมชน หมู่บ้านบ้านนาป่าหนาด มีโครงสร้างการทำงานอย่างชัดเจน โดย นายเพชรตะบอง ไพศูนย์ ประธาน ชมรมบ้านพิพิธภัณฑ์ไทดำ กล่าวว่า มีการมารวมตัวเป็นกลุ่มทำงาน แบ่งงานกันทำตามความถนัดใคร ช่วยในส่วนไหนได้ก็ช่วยกันไม่มีจัดตั้ง เป็นคณะกรรมการบริหารงาน เป็นเพียงสัญญาทางใจที่รับรู้ใน การทำงานร่วมกัน มีสำนึกในความเป็นพวกพ้องเดียวกัน เป็นคนในชุมชนเดียวกัน เป็นเครือญาติกัน ถือเป็นแรงจูงใจในการทำงานร่วมกัน ระหว่างการทำงานมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน ร่วมกัน ก่อนทำงานหรือทำกิจกรรมร่วมกันต้องประชุมปรึกษาหารือก่อนทุกครั้ง เพื่อวางแผนการ ทำงานร่วมกัน ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1291
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ว.026.2565.pdf8.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.