Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1286
Title: การพัฒนาชุมชนเพื่อรองรับการท่องเที่ยวตามเส้นทางการท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรม จังหวัดชัยภูมิ
Other Titles: Community Development for Supporting Tourism on Natural and Cultural Based Tourism Route in Chaiya Phum Province
Authors: สุขประเสริฐ, ชยาภรณ์
พันธ์ประโคน, พระมหาเสรีชน
พระครูสุตภัทรธรรม
จฺนทธฺมโม, พระไพศาล
ชึรัมย์, ไว
Keywords: ชุมชน
การพัฒนาชุมชน
การท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยเรื่องการพัฒนาชุมชนเพื่อรองรับการท่องเที่ยวตามเส้นทางการท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรม จังหวัดชัยภูมิ มีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อ คือ ๑) เพื่อพัฒนาชุมชนในการรองรับการท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรม ในจังหวัดชัยภูมิ ๒) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนในการรองรับการท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมในจังหวัดชัยภูมิ และ ๓) เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชน เพื่อการรองรับการท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมในจังหวัดชัยภูมิ โดยใช้การวิจัยแบบผสมวิธี(Mixed method) คือการวิจัยเชิงคุณภาพ ปฏิบัติการร่วมด้วยในรูปแบบผสมผสาน ด้วยการลงพื้นที่ปฏิบัติการทากิจกรรมร่วมกับชุมชน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม พัฒนาชุมชน การทากิจกรรมต่างๆ กับกลุ่มเป้าหมายซึ่งได้แก่กลุ่มประชากรตัวอย่างและผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ประชาชนในชุมชนและทั่วไป เยาวชน ผู้นาชุมชน ผู้นาท้องถิ่นเทศบาล ผู้ดูแลเกี่ยวข้อง ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้มีความรู้ด้านศิลปะกรรม และพระภิกษุสงฆ์ จานวนประมาณ ๓๐ รูป/คน ในชุมชนตาบลหนองบัวแดง อาเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาชุมชน ชุมชนบางแห่งได้รับการพัฒนาให้มีความพร้อมยังไม่เพียงพอสาหรับการรองรับนักท่องเที่ยวที่จะมาเที่ยว ผู้วิจัยได้เลือกพื้นที่ชุมชนบ้านลาดวังม่วง อาเภอหนองบัวแดง เป็นพื้นที่ที่มีความพร้อม มีศักยภาพ ในการพัฒนาเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่จะมาเยือน แวะพักและร่วมทากิจกรรมต่างๆ ได้ โดยอาเภอหนองบัวแดงนั้น มีพื้นที่ที่เป็นทั้งแหล่งธรรมชาติและมีวัฒนธรรมประเพณีที่โดดเด่น ทาเลที่ตั้งเอื้ออานวยให้เป็นจุดศูนย์กลางเพื่อรองรับการท่องเที่ยงทางธรรมชาติและวัฒนธรรมได้ 2) พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทโมบายที่เรียกว่า ตุงสาย ตุงแมงมุม ตุงพ่วงระย้า ใช้เป็นเครื่องประดับสัญลักษณ์แสดงออกซึ่งความเคารพนอบน้อมบูชาพระพุทธเจ้า ประดับหน้าโบสถ์วิหาร ให้มีรูปแบบและสีสันสดใสมีจุดเด่น แบบทันสมัยสวยงามมีเสน่ห์มนต์ขลังยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังได้ร่วมสร้างลวดลายผ้าทอ คือลายกระธูป ให้มีเอกลักษณ์ประจาอาเภอหนองบัวแดง เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่จะมาเยือนและดึงดูดใจให้ซื้อติดมือเป็นของฝากกลับบ้านไปด้วย 3) สร้างเครือข่ายความร่วมมือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชน ให้กับชุมชนจานวน 3 เครือข่าย เพื่อเป็นเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชน สังคม เชื่อมโยงส่งเสริมซึ่งกันและกัน ให้มีการพัฒนาต่อยอดของความรู้ในด้านต่างๆ ได้อย่างต่อเนื่องให้ยั่งยืนต่อไป
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1286
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ว.024.2565.ย่อย3.pdf9.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.