Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1285
Title: การพัฒนาเส้นทางและกิจกรรมการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และวัฒนธรรม ในจังหวัดชัยภูมิ
Other Titles: Development of Natural and Cultural Tourist Routes and Activities in Chaiya Phum Province
Authors: คล้ายเดช, ปัญญา
ปุระกัน, ปรธภร
Keywords: แหล่งท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
การพัฒนาเส้นทาง
กิจกรรมการท่องเที่ยว
ปรางค์กู่
พระเจ้าองค์ตื้อ
พระพุทธรูปใหญ่สมัยทวารวดี
อุทยานแห่งชาติ
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ ๑) ศึกษาเส้นทางการท่องเที่ยวทางธรรมชาติและ วัฒนธรรม ในจังหวัดชัยภูมิ ๒) พัฒนาเส้นทางและกิจกรรมการท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรม ในจังหวัดชัยภูมิ ๓) เพื่อพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวตามเส้นทางธรรมชาติและวัฒนธรรม ในจังหวัด ชัยภูมิ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยผสมผสานทั้งการวิจัยเชิงเอกสาร การวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัย เชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่มาท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและทาง ธรรมชาติ จำนวน ๔๐๐ คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสัมภาษณ์ จำนวน ๓๐ คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดย ใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ แล้วนำมาวิเคราะห์เพื่อนำมาพัฒนาเส้นทางและกิจกรรมการ ท่องเที่ยว นำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีพรรณนาในรูปของความเรียง ผลการศึกษาพบว่า ๑. เส้นทางการท่องเที่ยวในจังหวัดชัยภูมิ มีจำนวน ๔ เส้นทาง คือ ๑) เส้นทางวิถี ธรรมชาติ ๒) เส้นทางสายไหม ๓) เส้นทางวัฒนธรรมพื้นถิ่น และ ๔) เส้นทางวิถีการเกษตร ๒. เส้นทางการท่องเที่ยวทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรม ในจังหวัดชัยภูมิที่พัฒนาขึ้น มี ๖ เส้นทาง คือ ๑) เส้นทางไหว้พระสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์และชมแหล่งประวัติศาสตร์ ๒) เส้นทางชื่นชม ธรรมชาติบนเทือกเขาภูแลนคา ๓) เส้นทางเที่ยวชม เที่ยวไหว้ และเที่ยวช๊อป ๔) เส้นทางเที่ยวชม อุทยานชาติและอุทยานธรรม ๕) เส้นทางท่องจากทิศใต้สู่ทิศเหนือ และ ๖) เส้นทางท่องจากตะวันตก สู่ตะวันออก สำหรับกิจกรรมการท่องเที่ยวที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ ๑) การไหว้พระ ๒) การสักการะ อนุสาวรีย์ ๓) การชื่นชมแหล่งประวัติศาสตร์ ๔) การเที่ยว เล่น ชมธรรมชาติให้ดูดดื่ม และ ๕) การ นอนสัมผัสกับบรรยากาศอย่างเบิกบาน ๓. การพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยว คือ การสร้างความร่วมมือกันระหว่างแหล่ง ท่องเที่ยว หน่วยงานภาครัฐ และภาคธุรกิจเอกชน เพื่อพัฒนาเครือข่ายเชิงการเรียนรู้ เชิงกิจกรรม และเชิงบูรณาการร่วมกัน อันจะก่อนให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1285
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ว.024.2565.ย่อย2.pdf10.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.