Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1276
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | สวาสดิ์รัตน์, ณรัฐ | - |
dc.date.accessioned | 2025-07-07T08:33:44Z | - |
dc.date.available | 2025-07-07T08:33:44Z | - |
dc.date.issued | 2565 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1276 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ ๑. เพื่อศึกษาแนวคิดและวิถีชีวิตของการอยู่ร่วมกัน อย่างสันติประชาธรรมของประชาชนในจังหวัดชัยภูมิ ๒. เพื่อศึกษารูปแบบสังคมสันติประชาธรรมใน จังหวัดชัยภูมิ ๓. เพื่อสร้างชุมชนต้นแบบของสังคมสันติประชาธรรมในจังหวัดชัยภูมิ การวิจัยนี้เป็นการ วิจัยแบบผสมผสาน ใช้ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ในเชิงคุณภาพศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การ สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้นำชุมชนและประชาชนจำนวน ๔๐ รูป/คน และ ใช้การวิเคราะห์แบบอุปนัย ในเชิงปริมาณใช้การเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง ๔๐๐ คนและ วิเคราะห์ด้วยการพรรณนาและสถิติอนุมาน ผลการวิจัยพบว่า ๑. การศึกษาแนวคิดและวิถีชีวิตของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติประชาธรรมของประชาชนใน จังหวัดชัยภูมิ พบว่า ๑) ความขัดแย้งที่รุนแรงเกิดขึ้นในพื้นที่น้อยมาก เพราะประชาชนส่วนใหญ่มีความผูกพัน ทางเครือญาติ และไม่ค่อยมีปัญหาขัดแย้งในเรื่องทางการทำมาหากิน เพราะเป็นสังคมชนบทมีความ ใกล้ชิดสนิทสนมกัน ๒) การยุติปัญหาความขัดแย้ง มักจะรอมชอมกันเองในครอบครัวก่อน ถ้าตกลงกันไม่ได้จึง จะให้ผู้ใหญ่บ้านมาไกล่เกลี่ย แต่หากเป็นเรื่องใหญ่อาจแจ้งความดำเนินคดี ๓) ประชาชนเชื่อว่าพระพุทธศาสนาจะทำให้ชีวิตงดงามขึ้น ทำให้ชีวิตสงบร่มเย็น จึง จำเป็นที่จะต้องสรา้ งสิ่งจูงใจให้ประชาชนเข้าวัด เรียนรู้พระธรรมด้วยความเต็มใจ ๔) ประชาชนไม่ได้มองความเหลื่อมล้ำทางสังคมจะเป็นสาเหตุของความขัดแย้ง เพราะ สังคมชนบทเป็นสังคมแคบๆสามารถมองเห็นความเปลี่ยนแปลงของแต่ละครอบครัวได้ มีการดูแล ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จะลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจลงได้ ๕) ความสามัคคีในชุมชน มาจากความสนิทสนมและเป็นเครือญาติ ด้วยเหตุที่เป็นชุมชนที่ อพยพมาตั้งบ้านเรือนมาเป็นเวลานานมาก แม้จะมีคนถิ่นอื่นเข้ามาอยู่ภายหลัง แต่ความสนิทสนม ดูแล ช่วยเหลือกันการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของชาวบ้านก็ทำให้เกิดความสามัคคีขึ้นตามธรรมชาติ ข ๒. การศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบสังคมสันติประชาธรรมในจังหวัดชัยภูมิ พบว่า ๑) บทบาทของพระสงฆ์กับสังคมสันติประชาธรรม ต้องมีการร่วมกันปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม มีการสนับสนุนจากภาครัฐอย่างต่อเนื่อง พระสงฆ์ต้องมีบทบาทในสังคมมากขึ้น และประชาชนต้องมี ส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมทางศาสนามากกว่าปัจจุบัน ๒) บทบาทของผู้นำกับสังคมสันติประชาธรรม ผู้นำต้องเป็นตัวอย่างที่ดี ดูแลไม่ให้มีผู้ใด ละเมิด ระเบียบวินัยและข้อบังคับต่างๆที่กำหนด ๓) บทบาทคณะกรรมการหมู่บ้านของสังคมสันติประชาธรรม ควรมีบทบาทในเรื่องต่างๆ ตั้งแต่การวางแผนวางนโยบาย การดำเนินงานจนถึงการกำกับดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตาม วัตถุประสงค์ ๔) ความสำคัญของกฎ ระเบียบ ข้อบังคับกับสังคมสันติประชาธรรม กฎระเบียบของ ชุมชนจะต้องถูกกำหนดขึ้นตามความต้องการของประชาชนในชุมชน ไม่ขัดกับหลักกฎหมายบ้านเมือง และไม่ขัดกับศีลธรรมทางศาสนา โดยมีเจ้าหน้าที่รัฐและพระสงฆ์มีความรู้เป็นที่ปรึกษา ๕) การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการสร้างสังคมสันติประชาธรรม คนในสังคมจะต้องมี ส่วนร่วมในการกำหนด ระเบียบ ข้อบังคับและร่วมในการเขียนธรรมนูญหมู่บ้านที่เป็นรูปธรรมขึ้น ๓. การศึกษาชุมชนต้นแบบของสังคมสันติประชาธรรมในจังหวัดชัยภูมิ พบว่า ๑) รูปแบบชุมชนวิถีพุทธ เป็นรูปแบบของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข มีธรรมะคอยประ คับ ประคองให้ประชาชนดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องตามธรรมนองครองธรรม การรักษาศีล ๕ อย่างจริงจัง ๒) รูปแบบชุมชนอหิงสา เป็นรูปแบบของการอยู่ร่วมกันโดยไม่เบียดเบียนไม่ทำร้ายผู้อื่นไม่ ปฏิบัติผิดต่อผู้อื่น ไม่ว่าด้วยกาย วาจา หรือใจและไม่ใช้ความรุนแรง ๓) รูปแบบชุมชนประชาธิปไตย เป็นรูปแบบของการอยู่ร่วมกันโดยมีสิทธิเสรีภาพและ ความเสมอภาค มีหน้าที่ป้องกันมิให้้เกิดความเสียหายแก่่ตนเองและผู้อื่น ๔) ประชาชนทั้ง ๖ อำเภอเห็นว่าควรนำเอาชุมชนวิถีพุทธมาเป็นชุมชนต้นแบบของสังคม สันติประชาธรรม โดยไม่ต้องนำรูปแบบชุมชนอื่นมาบูรณาการ | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การพัฒนาสังคม | en_US |
dc.subject | สังคมสันติประชาธรรม | en_US |
dc.subject | ผู้นำท้องถิ่น | en_US |
dc.title | การพัฒนาสังคมสันติประชาธรรมของผู้นำท้องถิ่นในจังหวัดชัยภูมิ | en_US |
dc.title.alternative | The Development of Peaceful Society of Local Leaders in Chaiyaphum Province | en_US |
dc.type | Other | en_US |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ว.021.2565.ย่อย4.pdf | 9.36 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.