Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1273
Title: รูปแบบวัฒนธรรมทางการเมืองเพื่อพัฒนาพฤติกรรม ของผู้นำท้องถิ่น จังหวัดชัยภูมิ
Other Titles: Political Culture Model for behavior development of Local leaders in Chaiya Phum Province
Authors: คล้ายเดช, ปัญญา
สุวรรณภูมา, สมปอง
เพ็งศิริ, ชุมพล
ชุมพล, พระสมพร
แก้วโพนทอง, สุพิชญาณ์
Keywords: รูปแบบวัฒนธรรมทางการเมือง
ผู้นำท้องถิ่น
พฤติกรรมทางการเมือง
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษารูปแบบวัฒนธรรมทางการเมือง ๒) ศึกษาพฤติกรรม ทางการเมือง และ ๓) พัฒนากิจกรรมการพัฒนาพฤติกรรม สำหรับผู้นำท้องถิ่น ในจังหวัดชัยภูมิ การ วิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ, เชิงคุณภาพ และเชิงปฏิบัติการ กลุ่ม ตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนในจังหวัดชัยภูมิ จำนวน ๔๐๐ คน โดยใช้แบบสอบถาม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๒๕ คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และดำเนินการจัดกิจกรรมการพัฒนาพฤติกรรมทางการเมือง ให้กับผู้นำท้องถิ่น จำนวน ๑๐๐ คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์ไคสแควร์ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาประกอบ บริบทนำเสนอรายงานแบบพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ๑) ดำเนินการพัฒนาตัวชี้วัดรูปแบบวัฒนธรรมทางการเมือง ๖ แบบ คือ ๑) แบบคับแคบ ๒) แบบไพร่ฟ้า ๓) แบบมีส่วนร่วม ๔) แบบคับแคบผสมแบบไพร่ฟ้า ๕) แบบไพร่ฟ้าผสมแบบมีส่วน ร่วม ๖) แบบคับแคบผสมแบบมีส่วนร่วม แล้วนำไปศึกษากับกลุ่มเป้าหมาย และพบว่า ผู้นำท้องถิ่นใน จังหวัดชัยภูมิส่วนใหญ่ มีรูปแบบวัฒนธรรมทางการเมืองของเป็นแบบมีส่วนร่วม และแบบไพร่ฟ้าผสม แบบมีส่วนร่วม ๒) ผู้นำท้องถิ่นมีพฤติกรรมทางการเมืองโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาราย ด้าน พบว่า มีพฤติกรรมทางการเมืองอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไป หาน้อย คือ ๑) ด้านความเคารพสิทธิของผู้อื่น ๒) ด้านการรับผิดชอบต่อหน้าที่ ๓) ด้านการยึดถือ ประโยชน์์ส่วนรวม และ ๔) ด้านการมีส่วนร่วม ตามลำดับ และรูปแบบวัฒนธรรมทางการเมืองมี ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมทางการเมืองของผู้นำท้องถิ่นในจังหวัดชัยภูมิ ข ๓) ผู้วิจัยได้ดำเนินกิจกรรมการพัฒนาพฤติกรรมทางการเมืองในด้านการครองตน การ ครองคน และการครองงาน และพฤติกรรมทางการเมืองทั้ง ๔ ด้าน สำหรับผู้นำท้องถิ่นในพื้นที่ จำนวน ๑๐๐ คน และทำการประเมินความพึงพอใจในกิจกรรมการพัฒนาพฤติกรรมทางการเมือง โดยรวม พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1273
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ว.021.2565.ย่อย1.pdf7.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.