Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1271
Title: การส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองพระชนกจักรีวัฒนธรรมวิถีพุทธ
Other Titles: Promotion of tourism in the city of Phra Chanok Chakri, Buddhist culture
Authors: มาโต, ประคอง
พระครูอุเทศธรรมสาทิส
วงษ์สกุล, ชลิต
Keywords: การส่งเสริม
การท่องเที่ยว
วัฒนธรรม
วิถีพุทธ
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเมือง สร้างกลยุทธ์การส่งเสริมการท่องเที่ยว และส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองพระชนกจักรีวัฒนธรรมวิถีพุทธ เป็นรูปแบบวิจัยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mired Menthol Research) โดยการวิจัยแบบผสมผสานของการวิจัย ๓ ประเภท คือ การวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยทาการเลือกชุมชนเมืองพระชนกจักรี จังหวัดอุทัยธานี จากลักษณะความโดดเด่นของวัฒนธรรมวิถีพุทธ ประชากรกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น ๑๔๙ คน ผลการศึกษาพบว่า แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองพระชนกจักรีวัฒนธรรมวิถีพุทธ จากศักยภาพการวางแผนสู่แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวได้ประเด็นดังต่อไปนี้ วางแผนการพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนด้วยการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อ สนับสนุน ให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวและซื้อสินค้า OTOP สร้างสินค้าทางการท่องเที่ยวให้เป็นที่รู้จักยิ่งขึ้น เจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมากขึ้น ๖. ถ่ายทอดสดวีดีโอบน Facebook Live ในกิจกรรมและเทศกาลงานประเพณีที่มี ชื่อเสียงของจังหวัด กลยุทธ์การส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองพระชนกจักรีวัฒนธรรมวิถีพุทธ ประกอบด้วย ๙ ด้าน ๑๘ กลยุทธ์ ดังต่อไปนี้ ด้านที่ ๑ พื้นที่และทรัพยากร กลยุทธ์ที่ ๑ มีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ทางสื่อต่างๆ กลยุทธ์ที่ ๒ การจัดเส้นทางการเดินทางไปวัด แผนผังการเดินเที่ยวงานวัฒนธรรมวิถีพุทธ กลยุทธ์ที่ ๓ การปรับภูมิทัศน์ภายในวัดให้สงบ สะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย กลยุทธ์ที่ ๔ การจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาพื้นที่ ด้านที่ ๒ องค์กรชุมชน กลยุทธ์ที่ ๑ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมงานวัฒนธรรมวิถีพุทธ ด้านที่ ๓ การเรียนรู้ กลยุทธ์ที่ ๑ การนาเสนอข่าวสารข้อมูล ด้วยการใช้ภาษาสร้างสรรค์ กลยุทธ์ที่ ๒ จัดนิทรรศการให้ความรู้ เรื่อง งานวัฒนธรรมวิถีพุทธ ด้านที่ ๔ กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่า กลยุทธ์ที่ ๑ การโน้มน้าวใจด้วยการสร้างคุณค่าของจุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจและแปลกใหม่ในจังหวัดอุทัยธานี กลยุทธ์ที่ ๒ การจัดจุดสาหรับถ่ายรูป,เช็คอิน, หรือจัดทาข้อความ คาคมที่ดึงดูดและสะดุดตากับผู้ที่มาร่วมงาน ด้านที่ ๕ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ กลยุทธ์ที่ ๑ การสร้างภาพลักษณ์วัตถุประสงค์ กลยุทธ์ที่ ๒ การสร้างภาพลักษณ์ด้านการทาประโยชน์ต่อสังคม และกระแสอนุรักษ์วัฒนธรรมซึ่งเป็นหัวใจสาคัญของการ (๒) ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ด้านที่ ๖ การวางแผนการดาเนินงาน กลยุทธ์ที่ ๑ จัดประชุมคณะกรรมการวัด ผู้นาชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับการวัตถุประสงค์และกาหนดการจัดงาน ด้านที่ ๗ กาหนดเครื่องมือพัฒนา กลยุทธ์ที่ ๑ ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบการจัดกิจกรรมในปีที่ผ่านมา กลยุทธ์ที่ ๒ การจัดตกแต่งสถานที่ภายในบริเวณการจัดงานฯ ด้านที่ ๘ การจัดการการ กลยุทธ์ที่ ๑ จัดการเดินทางท่องเที่ยวในหมู่บ้านชนบทที่มีลักษณะวิถีชีวิตและผลงานสร้างสรรค์ที่มีลักษณะพิเศษโดดเด่นให้ได้รับ ความเพลิดเพลินได้ความรู้ ดูผลงานสร้างสรรค์ภูมิปัญญาพื้นบ้าน เข้าใจต่อสภาพสังคมและวัฒนธรรม ด้านที่ ๙ การประชาสัมพันธ์ กลยุทธ์ที่ ๑ การเชิญชวนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติมาเที่ยว กลยุทธ์ที่ ๒ การนาเสนอข้อเท็จจริงโดยเชื่อมโยงแนวคิดของงานกับจุดท่องเที่ยวภายในงาน กลยุทธ์ที่ ๓ การนาเสนอสารประชาสัมพันธ์ด้วยการใช้บุคคลมีชื่อเสียงเพื่อผลทางการจัดงาน การส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองพระชนกจักรีวัฒนธรรมวิถีพุทธ ส่งเสริมในยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองพระชนกจักรีวัฒนธรรมวิถีพุทธ ซึ่งมีกลยุทธ์ที่ควรส่งเสริม ได้แก่ ฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพิ่มศักยภาพและพัฒนาขีดความสามารถการบริหารจัดการและการแข่งขัน และพัฒนาบุคลากร สินค้า และบริการด้านการท่องเที่ยว และข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลักชี้ให้เห็นว่าการดาเนินงานตามกลยุทธ์นั้นยังไม่ถูกปฏิบัติอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม เป็นการวางกากับให้เป็นทิศทางการส่งเสริมในปีต่อๆ ไป ซึ่งอาจประสบปัญหาการโยกย้ายเปลี่ยนแปลงในระดับผู้นาของจังหวัด ทาให้มีการเปลี่ยนแปลงส่วนงานต่างๆ อยู่เสมอการดาเนินงานตามกลยุทธ์ของยุทธศาสตร์ดังกล่าวจึงขาดการเชื่อมต่อและอาจไม่ถูกปฏิบัติให้เกิดขึ้นจริง ส่งผลให้ยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยววัฒนธรรมวิถีพุทธขาดการดาเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้นกลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์ที่ทางจังหวัดกาหนดไว้ควรมีการดาเนินงานจริงภายในช่วงเวลาที่กาหนด และควรมีการสานต่อในแนวทางเดิมหากมีการเปลี่ยนแปลงโยกย้ายผู้นาก่อนเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้กลยุทธ์ต่างๆ นั้นสัมฤทธิ์ผลและเมื่อพิจารณากลยุทธ์ที่ถูกกาหนดขึ้น การส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองพระชนกจักรีวัฒนธรรมวิถีพุทธ เนื่องจากการพัฒนาบุคลากร สินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยว ยังเป็นสิ่งที่ขาดอยู่สาหรับจังหวัดอุทัยธานีอย่างเห็นได้ชัดการเพิ่มศักยภาพและพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการ จะเป็นการทาให้การท่องเที่ยวของจังหวัดอุทัยธานีมีระดับมาตรฐานที่สูงขึ้น การฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมจะเป็นการรักษาทรัพยากรท่องเที่ยวต่างๆให้คงอยู่สืบไป
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1271
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ว.020.2565.ย่อย3.pdf5.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.