Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1268
Title: การพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองพระชนกจักรีวัฒนธรรมวิถีพุทธ
Other Titles: Tourism Development of Phra Chanok Chakri, Buddhist Culture
Authors: มาโต, ประคอง
พระครูอุทิตปริยัติสุนทร
พุทฺธิวํโส, พระสมุห์พุฒิพงษ์
Keywords: การพัฒนา
การท่องเที่ยว
วัฒนธรรม
วิถีพุทธ
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาพื้นที่ พัฒนากระบวนการ และส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองพระชนกจักรีวัฒนธรรมวิถีพุทธ โดยรูปแบบการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mired Menthol Research) โดยการวิจัยแบบผสมผสานของการวิจัย ๔ ประเภท คือ การวิจัยเชิงเอกสาร การวิจัยในเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยทาการเลือกชุมชนเมืองพระชนกจักรี จังหวัดอุทัยธานี จากลักษณะความโดดเด่นของวัฒนธรรมวิถีพุทธ ประชากรกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น ๖๗๐ คน ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาพื้นที่การท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรมวิถีพุทธ งานบุญเดือนสามสืบสานประเพณีวิถีชาวอู่ไท ดาเนินงานในการพัฒนาพื้นที่ ในการจัดงาน วัดหนองขุนชาติ อาเภอหนองฉาง การพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยววัฒนธรรมวิถีพุทธ ประกอบไปด้วย พื้นที่การทาบุญ พื้นที่ทาบุญสักการะรอยพระพุทธบาทจาลอง พื้นที่ปิดทองอดีตเจ้าอาวาส พื้นที่ทาบุญพระประจาวัน พื้นที่ทาบุญพระร้อย พื้นที่ทาบุญผ้าไตรอุปสมบทนาคหมู่ พื้นที่ทาบุญติดผ้าป่าลอยฟ้า พื้นที่ทาบุญถวายสังฆทาน พื้นที่ทาบุญโลงศพ พื้นที่ทาบุญทอเสื่อ และพื้นที่ทาบุญบริจาคซื้อที่ดินถวายวัด แถลงข่าวการจัดงาน พื้นที่ทาขวัญข้าวแม่โพสพ พื้นที่ทาขวัญนาค พื้นที่ขบวนแห่นาค พื้นที่การประกวดขบวนแห่สารับคาวหวาน สืบทอดวัฒนธรรมประเพณีและวิถีวัฒนธรรม พื้นที่การแสดงความสามารถของเยาวชนและนักเรียน การละเล่นพื้นบ้าน และวัฒนธรรมประเพณีต่างๆ พื้นที่งานมีเอกลักษณ์โดดเด่นที่สะท้อนให้เห็นถึงความงดงามที่แฝงไปด้วยความเรียบง่าย ไม่ซับซ้อนแต่น่าสนใจ ซึ่งสามารถสัมผัสได้เฉพาะจังหวัดอุทัยธานี ด้วยเพราะวิถีชีวิตของคนอุทัยธานีที่สงบ เรียบร้อย แต่มีมนต์ขลัง เป็นอีกหนึ่งวิถีชีวิตที่คนเมืองใหญ่ต้องการ ถือเป็นอีกหนึ่งวัฒนธรรมประเพณีที่เปิดบ้านรับนักท่องเที่ยว ด้วยวิถีของชาวอู่ไท การพัฒนากระบวนการท่องเที่ยวเมืองพระชนกจักรีวัฒนธรรมวิถีพุทธ โดยการบูรณาการกระบวนการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรมวิถีพุทธ โดยการบูรณาการกระบวนการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม จากชุมชน สู่ วัด จากวัด สู่ ชุมชน ได้ดังนี้ กิจกรรมที่ถูกพัฒนาภายในงาน กิจกรรมสักการะวิหารอดีตเจ้าอาวาส กิจกรรมสักการะพระพุทธชินราชกิจกรรมปิดทองรอยพระพุทธบาทจาลอง ในมณฑป กิจกรรมการทาบุญพระประจาวัน กิจกรรมทาบุญพระร้อย กิจกรรมร่วมทาบุญอุปสมบทนาคหมู่ กิจกรรมการทอดผ้าป่าลอยฟ้า กิจกรรมการถวายสังฆทาน กิจกรรมการทาบุญชื้อที่ดิน กิจกรรมการทาบุญโลงศพ กิจกรรมการอนุรักษ์การท่อเสื่อกก กิจกิจกรรมการทาขวัญข้าว กิจกรรมเปิดงานบุญ กิจกรรมร่วมบุญทอดผ้าป่า กิจกรรมการทาบุญสะเดาะเคราะห์ต่อชะตา กิจกรรมมัจฉากิ่งกาชาด กิจกรรมการแสดงและการประกวดร้อง (๒) เพลง กิจกรรมการแข่งขันกีฬาเปตอง กิจกรรมการแข่งขันกีฬายิงหนังสะติ๊ก กิจกรรมการทาขวัญนาค การบวชนาคหมู่ กิจกรรมการแข่งขันกีฬาฟุตซอล กิจกรรมการประกวดขบวนรถแห่นาค การแสดงหน้านาค กิจกรรมการประกวดประเพณีการจัดสารับคาวหวานตามขนบธรรมเนียมประเพณีโบราณ การส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองพระชนกจักรีวัฒนธรรมวิถีพุทธ โดยส่งเสริมในยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองพระชนกจักรีวัฒนธรรมวิถีพุทธ ซึ่งมีกลยุทธ์ที่ควรส่งเสริม ได้แก่ ฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพิ่มศักยภาพและพัฒนาขีดความสามารถการบริหารจัดการและการแข่งขัน และพัฒนาบุคลากร สินค้า และบริการด้านการท่องเที่ยว และข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลักชี้ให้เห็นว่าการดาเนินงานตามกลยุทธ์นั้นยังไม่ถูกปฏิบัติอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม เป็นการวางกากับให้เป็นทิศทางการส่งเสริมในปีต่อๆ ไป ทาให้มีการเปลี่ยนแปลงส่วนงานต่างๆ อยู่เสมอการดาเนินงานตามกลยุทธ์ของยุทธศาสตร์ดังกล่าวจึงขาดการเชื่อมต่อและอาจไม่ถูกปฏิบัติให้เกิดขึ้นจริง ส่งผลให้ยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยววัฒนธรรมวิถีพุทธขาดการดาเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้นกลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์ที่ทางจังหวัดกาหนดไว้ควรมีการดาเนินงานจริงภายในช่วงเวลาที่กาหนด และควรมีการสานต่อในแนวทางเดิมหากมีการเปลี่ยนแปลงโยกย้ายผู้นาก่อนเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้กลยุทธ์ต่างๆ นั้นสัมฤทธิ์ผลและเมื่อพิจารณากลยุทธ์ที่ถูกกาหนดขึ้น การส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองพระชนกจักรีวัฒนธรรมวิถีพุทธ เนื่องจากการพัฒนาบุคลากร สินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยว ยังเป็นสิ่งที่ขาดอยู่สาหรับจังหวัดอุทัยธานีอย่างเห็นได้ชัดการเพิ่มศักยภาพและพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการ จะเป็นการทาให้การท่องเที่ยวของจังหวัดอุทัยธานีมีระดับมาตรฐานที่สูงขึ้น การฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมจะเป็นการรักษาทรัพยากรท่องเที่ยวต่างๆให้คงอยู่สืบไป
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1268
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ว.020.2565.pdf8.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.