Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1258
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | พระครูปลัดสุวัฒนพุทธิคุณ | - |
dc.contributor.author | พระครูรัตนสุตาภรณ์ | - |
dc.contributor.author | พระราชรัตนสุธี | - |
dc.contributor.author | วชิรญาณเมธี, พระมหาเทวประภาส | - |
dc.contributor.author | บุญทองคำ, ณัฏยาณี | - |
dc.contributor.author | อ่อนทรวง, จุมพต | - |
dc.date.accessioned | 2025-07-07T06:30:57Z | - |
dc.date.available | 2025-07-07T06:30:57Z | - |
dc.date.issued | 2565 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1258 | - |
dc.description.abstract | การวิจัย เรื่อง “นวัตวิถีภูมิปัญญาวิถีพุทธสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนของอำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก” มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อพัฒนาชุดความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก ๒) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอำเภอ เนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก และ ๓) เพื่อสร้างศักยภาพด้านการท่องเที่ยวอำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก เป็นการวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผู้วิจัยได้มุ่งเน้นศึกษาการ พัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ให้ข้อมูล สำคัญ (Key Informants) ซึ่งเป็นตัวแทนชุมชน หน่วยงานภาครัฐ พระสงฆ์ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง กับแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอเนินมะปรางจำนวน ๒๔ ท่าน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) กับผู้เกี่ยวข้อง จำนวน ๑๐ ท่าน ผลการวิจัยพบว่า ๑) การพัฒนาชุดความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก พบว่า ได้ชุดความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก ดังนี้ ๑) ประวัติความเป็นมาของอำเภอเนินมะปราง ๒) ทรัพยากรการท่องเที่ยวของ อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก ๓) ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อม ทางกายภาพและวัฒนธรรมของชุมชน ๔) ผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น จากผลิตภัณฑ์ทาง การเกษตรสู่ผลิตภัณฑ์ชุมชน ๕) เส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนในเขตอำเภอเนินมะปราง จังหวัด พิษณุโลก ซึ่งนักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสทั้งความงามของธรรมชาติ วิถีชีวิต สังคมวัฒนธรรม และได้ร่วม กิจกรรมการทำผลิตภัณฑ์ชุมชนร่วมกับชาวบ้าน ๒) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอำเภอเนินมะปราง จังหวัด พิษณุโลก พบว่า สิ่งที่ควรพัฒนาได้ในเบื้องต้น คือ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และการป้ายสินค้า โดย คำนึงถึงรูปแบบดังนี้ ๑) มีความแข็งแรง ๒) มีราคาขายที่เหมาะสม ๓) สามารถตอบสนองความ ต้องการของผู้ใช้ ๔) ความงาม ๕) มีความสะดวกสบายในการใช้งาน ๖) การดูแลรักษา ๗) มีความ ปลอดภัย ๘) การขนส่งที่รวดเร็ว ๓) การสร้างศักยภาพด้านการท่องเที่ยวอำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก พบว่า ใน การจัดการสร้างศักยภาพด้านการท่องเที่ยวฯ สามารถนำมาจัดทำเป็นกลยุทธ์ หรือองค์ประกอบที่ สำคัญฯ ได้ ๗ ด้าน ซึ่งสามารถกำหนดลำดับความจำเป็นในการนำไปปฏิบัติ ตามคำแนะนำของ ผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน ด้านขีดความสามารถในการรองรับ ด้านการบริการ แก่นักท่องเที่ยว ด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยว ด้านผลิตภัณฑ์ชุมชนทางการท่องเที่ยว ด้าน กิจกรรมและกระบวนการท่องเที่ยว และด้านทรัพยากรการท่องเที่ยว | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | นวัตวิถี | en_US |
dc.subject | วิถีพุทธ | en_US |
dc.subject | การท่องเที่ยว | en_US |
dc.title | นวัตวิถีภูมิปัญญาวิถีพุทธสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนของอาเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก | en_US |
dc.title.alternative | Inno-Life of Buddhist Wisdom to Sustainable Tourism of Noenmaprang District, Phitsanulok Province | en_US |
dc.type | Other | en_US |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ว.017.2565.pdf | 4.36 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.