Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1254
Title: การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากวิถีพุทธเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนวัดหาดมูลกระบือ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร
Other Titles: The Development of Creative Buddhist-Grass roots Economy of Wat Hat Mun Krabue Community Mueang Phichit District Phichit Province
Authors: พระครูพิพัฒน์สุตคุณ
สุภทฺทจารี, พระมหาศุภฤกษ์
ไชยชนะ, วิชิต
พระราชสิทธิเวที
พระครูใบฎีกาสุวินทร์
Keywords: เศรษฐกิจฐานรากวิถีพุทธ
เศรษฐกิจฐานรากเชิงสร้างสรรค์
การพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก
ชุมชนวัดหาดมูลกระบือ
เศรษฐกิจชุมชน
การพึ่งตนเอง
การพึ่งตนเองทางด้านเทคโนโลยี
การพึ่งตนเองทางด้านเศรษฐกิจ
การพึ่งตนเองทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ
การพึ่งตนเองทางด้านจิตใจ
การพึ่งตนเองทางด้านสังคมและวัฒนธรรม
ทุนทางสังคม
มิติกลุ่มและเครือข่าย
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่อง การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากวิถีพุทธเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนวัดหาดมูลกระบือ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑.ศึกษาศักยภาพเศรษฐกิจฐานรากวิถีพุทธของชุมชนวัดหาดมูลกระบือ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร ๒.ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนวัดหาดมูลกระบือ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร ๓.พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากวิถีพุทธเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนวัดหาดมูลกระบือ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้กระบวนการวิจัย ๓ รูปแบบ คือ การวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ที่มุ่งจะนำผล ที่ได้จากการศึกษาวิจัยไปใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากวิถีพุทธเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนวัดหาดมูลกระบือ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ๑.การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ได้แก่ พระสงฆ์ กลุ่มผู้นำชุมชนในพื้นที่ ผู้อาวุโส ปราชญ์ชาวบ้านแกนนำพื้นที่วิจัย พื้นที่ ๒.การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ผู้วิจัยเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเจาะจง (Purposive) ประกอบด้วย ๑.กลุ่มเยาวชน นักเรียน ในพื้นที่วิจัย ๒. กลุ่มชาวบ้านในพื้นที่วิจัยเพื่อร่วมเรียนรู้ สืบสานในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากวิถีพุทธเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนวัดหาดมูลกระบือ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตรจำนวนทั้งสิ้น ๔๕ รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า ๑. ศักยภาพเศรษฐกิจฐานรากวิถีพุทธของชุมชนวัดหาดมูลกระบือ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร มีการ สืบสานและการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมโดยการเพิ่มมูลค่า การสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่โดยใช้วัดเป็นศูนย์กลางเพื่อขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจผ่านประเพณีต่างๆ ที่สัมพันธ์กับวัด แม่น้ำน่าน และทรัพยากรป่าไม้ มีศักยภาพ เศรษฐกิจฐานรากวิถีพุทธของชุมชนมีการรวมกลุ่ม เช่น กลุ่มข้าวเม่าพอก ทำเฟอร์นิเจอร์ไม้ ต่อเรือ เลี้ยงปลา จักสาน เป็นต้น ที่เชื่อมร้อยศรัทธาในทางพระพุทธศาสนาและสร้างรายได้ให้ชุมชน ประกอบด้วย กิจกรรมแข่งเรือยาวและกิจกรรมทำข้าวเม่า ในการรวมกลุ่มของประชาชนที่มีวัตถุประสงค์หารายได้เพื่อใช้จ่ายในกิจกรรมของวัด ภายหลังสถานการณ์โควิด--๑๙ คลี่คลาย คณะกรรมการวัดและทีมวิจัยมีความเห็นพ้องกันคือใช้พื้นที่บริเวณวัดจัดให้มีตลาดวัฒนธรรมเพื่อสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนและเป็นลานแสดงออกทางวัฒนธรรมของคนในพื้นที่ มีการจัดทำแผนที่การท่องเที่ยวทางน้ำโดยเริ่มจากวัดหงส์ วัดหาดมูลกระบือ และวัดท่าฬ่อ และการพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจในชุมชนวัดหาดมูลกระบือ ตามแนวคิด TERMS Model ๒.การส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนวัดหาดมูลกระบือ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร มีการจัดทำแผนธุรกิจเพื่อชุมชน Business Model Canvas (CBMC) แบบจำลองทางธุรกิจเพื่อชุมชน แผนดำเนินงานที่ใช้สำหรับธุรกิจเพื่อชุมชน และปฏิทินงานเพื่อใช้ในการควบคุมให้งานเดินไปตามเป้าหมายของชุมชน มีการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนตามกรอบความคิด TERMS MODEL ที่ชุมชนจะพึ่งตนเองได้ซึ่งมี ๕ ประการ คือ การพึ่งตนเองทางเทคโนโลยี (T) การพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจ (E) การพึ่งตนเองทางทรัพยากรธรรมชาติ (R) การพึ่งตนเองทางจิตใจ (M) และการพึ่งตนเองทางสังคมวัฒนธรรม (S) ที่ส่งผลถึงความสัมพันธ์เชิงหน้าที่และการพึ่งตนเองของชุมชนวัดหาดมูลกระบืออีกด้วย และมีการสนับสนุนเศรษฐกิจฐานรากเชิงสร้างสรรค์ผ่านเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โปรแกรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนวัดหาดมูลกระบือ และตลาดนัดวัฒนธรรมชุมชนเพื่อเป็นการพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน ๓. การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากวิถีพุทธเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนวัดหาดมูลกระบือ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร มีสองทัศนะ มุมหนึ่งมองจากวัดมายังชุมชน ส่วนอีกมุมหนึ่งมองจาก ชุมชนไปยังวัด แต่ความเห็นทั้งสองมุมมองมาบรรจบกันอย่างลงตัว กล่าวคือ วัดเห็นว่าสินค้าและ ผลิตภัณฑ์พื้นบ้านสามารถสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน ส่วนชุมชนมองว่ากิจกรรมทำข้าวเม่าเป็นแหล่ง รายได้ที่สำคัญของวัด เป็นความสัมพันธ์ที่มีลักษณะร่วมมือเป็นหุ้นส่วน ขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจฐาน รากด้วยการสร้างเครือข่ายชุมชนเชื่อมโยงหลากหลายอาชีพ ประยุกต์ใช้แนวคิดทางพระพุทธศาสนา โดยใช้วัดเป็นศูนย์กลาง ผลักดันให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมวิถีพุทธ กระตุ้นให้เกิดการเติบโต ทางเศรษฐกิจของชุมชนวัดหาดมูลกระบือ ปัจจัยผลักดันเศรษฐกิจชุมชนในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มีผลกระทบทางตรงต่อกิจกรรมในกระบวนการเศรษฐกิจชุมชนคือการจัดทำแผนธุรกิจเพื่อชุมชน Business Model Canvas (CBMC) แบบจำลองทางธุรกิจเพื่อชุมชน การสร้างเส้นทางแหล่งท่องเที่ยววิถีพุทธเชิงสร้างสรรค์กับการเชื่อมโยงการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ของชุมชนวัดหาดมูลกระบือ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร สืบสานประเพณีแข่งขันเรือยาวและการทำข้าวเม่าพอกกับการเชื่อมโยงการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนวัดหาดมูลกระบือ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร ซึ่งมี มีผลกระทบทางตรงต่อการสร้างรายได้ ด้านการให้ความอนุเคราะห์ชุมชน ในการจัดสรรกำไรไปช่วยเหลือ กิจกรรมต่างๆ ทางสังคมในชุมชนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1254
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ว.015.2565.pdf12.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.