Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1253
Title: การสร้างธรรมนูญความสุขชุมชนวิถีพุทธกับรองรับสังคมสูงวัยระดับตำบล
Other Titles: The creating a buddhist happiness community statute to support the aging society at sub-district
Authors: เหนืออำนาจ, รัตติยา
ดำปรีดา, สยาม
แก้วบุตรดี, ภาราดร
Keywords: ธรรมนูญความสุขชุมชน
กลไกและกระบวนการ
สังคมสูงวัยระดับตำบล
นักจัดการชุมชนด้านการสร้างธรรมนูญความสุขชุมชน
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนทัศน์และการรับรู้ของประชาชนที่มีต่อ ธรรมนูญความสุขชุมชนในระดับตำบล 2) สร้างธรรมนูญความสุขชุมชนวิถีพุทธกับรองรับสังคมสูงวัย ระดับตำบล และ 3) ถอดบทเรียนการสร้างธรรมนูญความสุขชุมชนวีถีพุทธรองรับสังคมสูงวัยระดับ ตำบล เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 การวางแผน โดยการวิเคราะห์ชุมชน และการสร้างฉันทามติสู่การพัฒนาระบบการออมชุมชน โดยการเปิดเวทีสาธารณะ ผ่านเวทีชวนคิด ชวนคุยกับผู้มีส่วนได้เสีย ขั้นตอนที่ 2 การปฏิบัติ เป็นการขับเคลื่อนการพัฒนาผ่านการออกแบบ ร่วมกันของชุมชน ขั้นตอนที่ 3 สังเกต ติดตาม และประเมินผลการขับเคลื่อนกิจกรรมฯ โดยการ ประเมินผลโดยใช้แบบประเมิน CIPPI Model และการประเมินผลจากการสังเกตการณ์ของนักวิจัย และผู้ร่วมวิจัยท้องถิ่น และขั้นตอนที่ 4 สะท้อนผลการขับเคลื่อนกิจกรรมฯ โดยถอดบทเรียนการ ทำงาน ผ่านเทคนิคการทบทวนหลังการขับเคลื่อนกิจกรรมเสร็จสิ้น และใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเชิง พรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) การพัฒนากระบวนทัศน์และการรับรู้ของประชาชนที่มีต่อธรรมนูญความสุขชุมชนใน ระดับตำบล พบว่า 1) การรู้ทุกข์ พบว่า ผู้เข้าร่วมการประชาคมตำบลทุกคนมองไปในทิศทางเดียวกัน ว่า “ความยั่งยืน” เป็นเป้าหมายที่ทุกคนคาดหวัง แต่ยังมีข้อจำกัดบางประการที่ทุกคนจำเป็นต้อง ร่วมกันดำเนินการแก้ไข ดังนี้ 1.1) การเพิ่มปริมาณของผู้สูงอายุในตำบลหนองนมวัว 1.2) ความ เจริญทางด้านเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ในดั้งเดิมเปลี่ยนแปลงไป 1.3) เยาวชน ขาดความตระหนักในการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางศาสนา วัฒนธรรม และประเพณี 1.4) การ ขาดบุคลากร/ลูกหลานที่จะสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นในแต่ละหมู่บ้าน และ 1.5) การอยู่ร่วมของคน 3 วัย 2) การรู้ทุน พบว่า มีการคัดเลือกตัวแทนนักจัดการชุมชนด้านการออมจะมาจากฉันทนามติของ ชุมชน ซึ่งจะมาจากตัวแทนของแต่ละหมู่บ้าน รวมจำนวนทั้งสิ้น 21 คน และตำบลหนองนมวัว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์มีการนำฮีต 12 คอง 14 มาเป็นกลยุทธ์ในการสร้างความสัมพันธ์ อันดีระหว่างบ้าน วัด โรงเรียนและราชการ ตามเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม 3) การรู้เท่าทัน ประกอบด้วย จำนวน 2 กิจกรรม ดังนี้ 3.1) การสร้างสุข 5 มิติ จำแนกความสุข ออกเป็น 5 มิติ คือ สุขสบาย สุขสนุก สุขสง่า สุขสว่าง และสุขสงบ 3.2) การสร้างข้อตกลงชุมชนใน การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขของคนตำบลหนองนมวัว ผ่านฉันทนามติร่วมกัน 2) การสร้างธรรมนูญความสุขชุมชนวิถีพุทธกับรองรับสังคมสูงวัยระดับตำบล ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 การจัดตั้งกลไกการขับเคลื่อนธรรมนูญความสุขชุมชนวิถีพุทธของตำบล หนองนมวัว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ ขั้นตอนที่ 2 การทบทวนเป้าหมายร่วมของคนใน ตำบลหนองนมวัว ขั้นตอนที่ 3 การยกร่างธรรมนูญความสุขชุมชนวิถีพุทธ โดยยึดเป้าหมายร่วมของ ตำบล คือ หนองนมวัวโมเดลเมืองสุขภาวะ เป็นการอยู่ร่วมกันของคนในตำบลอย่างมีความสุข จำแนก ความสุขออกเป็น 5 มิติ สุขสบาย (Health) สุขสนุก (Recreation) สุขสง่า (Integrity) สุขสว่าง (Cognition) และสุขสงบ (Peacefulness) ขั้นตอนที่ 4 การทบทวนและปรับปรุงร่างธรรมนูญ ความสุขชุมชนวิถีพุทธ ขั้นตอนที่ 5 การรับรองร่างธรรมนูญความสุขชุมชนวิถีพุทธตามความต้องการ ของชุมชน ขั้นตอนที่ 6 ประกาศใช้ธรรมนูญความสุขชุมชนวิถีพุทธ ผ่านเวทีประชุมของหมู่บ้าน และ ขั้นตอนที่ 7 การทบทวนการขับเคลื่อนธรรมนูญความสุขชุมชนวิถีพุทธ 3) การถอดบทเรียนการสร้างธรรมนูญความสุขชุมชนวีถีพุทธรองรับสังคมสูงวัยระดับ ตำบล พบว่า 3.1) การประเมินกระบวนการชุมชน โดยใช้แบบจำลองการประเมิน CIPPI (CIPPI Model) พบว่า (1) การประเมินด้านบริบท พบว่า เป้าหมายโครงการมีความเป็นไปได้และในการ กำหนดกิจกรรมต่าง ๆ มีความสอดคล้องกับสภาพชุมชน และทุนทางวัฒนธรรมมีความเข้มแข็ง (2) การประเมินปัจจัยป้อน พบว่า ความศรัทธาในภาวะผู้นำทางจิตวิญญาณ, การบริหารจัดการชุมชน, ศักยภาพชุมชน และการสนับสนุนจากภาครัฐและภาคีเครือข่าย (3) การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) พบว่า มีการสร้างข้อตกลงชุมชน และข้อจำกัดและแนวทางการแก้ไขในการ ขับเคลื่อนกิจกรรมฯ คือ การประสบปัญหาอุทกภัย (4) การประเมินผลิตผล (Product Evaluation) พบว่า ผลสัมฤทธิ์ในการขับเคลื่อนกิจกรรมตามข้อตกลงของชุมชนที่ได้กำหนดไว้ ได้ดำเนินการ ขับเคลื่อนกิจกรรมเพื่อพัฒนาครบทุกกิจกรรม และ (5) การประเมินผลกระทบ (Impact Evaluation) พบว่า มีผลกระทบในด้านต่าง ๆ เกิดขึ้น คือ ความยั่งยืนของชุมชน และมีการจัดตั้งศูนย์ ช่วยเหลือสังคมตำบลหนองนมวัว 3.2) ผลการถอดบทเรียน ผ่านเทคนิคการทบทวนหลังการ ขับเคลื่อนกิจกรรมเสร็จสิ้น (After Action Review: AAR) พบว่า (1) ปัญหาและข้อจำกัด ประกอบด้วย ปัญหาสาธารณภัยในพื้นที่ และการจัดการเวลาไม่ตรงกันระหว่างส่วนตัวและส่วนร่วม และ (2) ปัจจัยความสำเร็จ ประกอบด้วย การสนับสนุนจากภาครัฐ การมีส่วนร่วม ทุนทางสังคม และผู้นำ/นักจัดการชุมชน/พี่เลี้ยง
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1253
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ว.014.2565.ย่อย4pdf.pdf7.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.