Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1208
Title: พุทธจิตวิทยาวิถีชีวิตใหม่: กลไกการสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจของครอบครัวไทย
Authors: ภูวชนาธิพงศ์, กมลาศ
Issue Date: Sep-2566
Publisher: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักพุทธจิตวิทยาและวัฒนธรรมไทยในการสร้าง กลไกความเข้มแข็งทางจิตใจของครอบครัว 2) เพื่อการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสร้าง ความเข้มแข็งทางจิตใจของครอบครัววิถีชีวิตใหม่ตามแนวพุทธจิตวิทยาและวัฒนธรรมไทย และ 3) เพื่อพัฒนาเครือข่ายเชิงพื้นที่ในการถ่ายทอดกลไกการสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจของครอบครัววิถี ชีวิตใหม่ตามแนวพุทธจิตวิทยา เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณและและวิธีเชิง คุณภาพขยายเชิงปริมาณ พื้นที่วิจัยในการศึกษาครั้งนี้ คือ พื้นที่ชุมชนสำเภาล่ม อำเภอเมือง พระนครศรีอยุธยา โดยได้กำหนดกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ กลุ่มผู้นำชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน อบต. ผู้อำนวยการและครู โรงเรียนในพื้นที่ จำนวน 10 คน กลุ่มผู้ปกครองจำนวน 14 ครอบครัว และ นักเรียนเยาวชนในพื้นที่ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก ชุดกิจกรรม ความเข้มแข็งทางใจ แบบสำรวจครอบครัว แบบสอบถามเสริมสร้างพลังใจ แบบประเมินความพึง พอใจ สมุดบันทึกพลังใจ และ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้การวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักพุทธจิตวิทยาและวัฒนธรรมไทยในการสร้างกลไกความเข้มแข็งทางจิตใจของ ครอบครัว มีดังนี้ (1) หลักพุทธจิตวิทยา ได้แก่ หลักพละ 5 ฆราวาสธรรม และโยนิโสมนสิการ (2) หลักจิตวิทยาเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจ ใช้หลักการแนวคิดของ Grothberg แบ่งลักษณะของ ความเข้มแข็งทางด้านจิตใจเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ ฉันมี ฉันเป็น และฉันสามารถ (3) วิถีวัฒนธรรม ไทย ประกอบด้วย 3.1) ด้านการดำรงชีวิต คือ สภาพภูมิประเทศ บริบทสังคม กลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความ หลากหลาย 3.2) ด้านความเชื่อ คือ ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ปฏิบัติกันมานาน เช่น การทักทาย ด้วยการไหว้ 3.3) ด้านขนบธรรมเนียมประเพณี ได้แก่ ศิลปะสาขาต่างๆ 3.4) ด้านค่านิยม สิ่งที่ บุคคลหรือสังคมไทยยึดถือเป็นเครื่องช่วยตัดสินใจ และปลูกฝังให้สมาชิกของสังคมยึดถือและปฏิบัติใน การด าเนินชีวิต และ ๓.๕) ด้านศิลปะ คือ คุณค่าทางด้านสุนทรียะที่ เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม (4) งานวิจัยเชิงพื้นที่ พบว่า มีการส่งเสริมกิจกรรมชุมชนอย่างต่อเนื่องผ่านกลุ่มเยาวชน มีความ ร่วมมือกันทุกเครือข่าย และส่งเสริมการเห็นคุณค่ามรดกวัฒนธรรมของชุมชน 2) การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจของครอบครัว วิถีชีวิตใหม่ตามแนวพุทธจิตวิทยาและวัฒนธรรมไทย พบว่า การพัฒนากระบวนการและนำมาสร้าง เป็นชุดกิจกรรมเพื่อทำการทดลองแบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 เสริมสร้างพลังใจครอบครัว เข้มแข็งทางใจ ด้วยการทำกิจกรรม 2 วัน ได้แก่ (1) “สานพลังใจ ให้ครอบครัวเข้มแข็ง” (2) “ฟัง พูดด้วยหัวใจ เชื่อมสายใยครอบครัวเข้มแข็ง” (3) “สื่อสารสร้างสรรค์ สร้างความเข้มแข็งทางใจใน ครอบครัว” ระยะที่ 2 เชื่อมสายใยครอบครัว” เป็นระยะที่มีการติดตามผลงานโดยการจัดอบรม 1 วัน ได้แก่ (1) “สื่อสารด้วยหัวใจ เชื่อมสายใยครอบครัว” ระยะที่ 3 สื่อสารสร้างสรรค์ เน้นการการ สะท้อนคิดเห็นด้วยกิจกรรม 1 วัน ได้แก่ (1) “สื่อสารสร้างสรรค์ สร้างความเข้มแข็งทางใจ วัยใส Set Gold ด้วยพลังใจเข้มแข็ง” ระยะที่ ๔ สื่อสารเชิงบวก เสริมพลังใจดี ครอบครัวเป็นสุข ปลูกจิต อาสาสู่ชุมชน เป็นการสรุปกิจกรรม ด้วยการจัดอบรม 1 วัน ได้แก่ (1) “U ME DEE ปลดล็อคพลัง ภายในเป้าหมายก็แค่ปากซอย” และกิจกรรมครอบครัว ได้แก่ (1) การบรรยายความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปลดล็อคพลังภายในสร้าง Growth Mindset ได้ด้วยตัวเอง และ (2) การทำจิตอาสา 3) ผลลัพธ์การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจของ ครอบครัววิถีชีวิตใหม่ 3.1) ผลการวิเคราะเชิงปริมาณครั้งที่ 1 พบว่า 1) ในกลุ่มเยาวชน มีคะแนนเฉลี่ยตัว แปรด้านการสร้างสัมพันธภาพเชิงบวกด้วยหลักธรรมฆราวาสธรรม 4 ของเยาวชน หลังอบรมแตกต่าง กับก่อนอบรมอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (Sig.= .050) และพบผลเช่นเดียวกันในกลุ่ม ผู้ปกครอง (Sig.= .027) และคะแนนเฉลี่ยตัวแปรพลังใจของผู้ปกครองหลังอบรมแตกต่างกับก่อน อบรมอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (Sig.= .048) ผลการวิเคราะห์โครงการครั้งที่ 2 ใน เยาวชน มีคะแนนเฉลี่ยตัวแปรพลังใจของเยาวชน หลังอบรมแตกต่างกับก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 ค 3.2) ผลวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลลัพธ์จากการทำกิจกรรมทั้ง 4 ระยะ พบว่า 1) ผลลัพธ์ระดับบุคคล พฤติกรรมของเยาวชนมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น กล้าแสดงออก และ กล้าสะท้อนคิดสิ่งที่รู้สึกมากขึ้น การพัฒนาความคิด ฝึกการคิดจากการใช้หลักธรรมทำให้สามารถ ทบทวนปัญหา และสะท้อนความคิดออกมาอย่างมั่นใจ 2) ผลลัพธ์ระดับครอบครัว ครอบครัวหรือ ผู้ปกครองมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ผู้ปกครอง มีความหลากหลายและก็ค่อนข้างเปิดใจ กล้า แสดงความรักต่อลูกมากกว่าเดิม 4) ผลการพัฒนาเครือข่ายเชิงพื้นที่ในการถ่ายทอดกลไกการสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจ ของครอบครัววิถีชีวิตใหม่ตามแนวพุทธจิตวิทยา พบว่า มีการถ่ายทอดกลไกผ่านกิจกรรม ได้แก่ (1) กิจกรรมจิตอาสา (2) กิจกรรมการถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรม (3) การเผยแพร่องค์ความรู้ ทั้ง ระหว่างประเทศ ในประเทศและออนไลน์
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/1208
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.